การหมุนตัวสร้างเกลียว

9483 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การหมุนตัวสร้างเกลียว

สวัสดีสมาชิกชาวกันเองคลับทุกท่าน...เคยสงสัยกันไหมครับว่า การหมุนตัวสร้างเกลียวมากขนาดไหน ในขณะ backswing ถึงทำให้มีพลังในการตี?? วันนี้เรามีคำตอบให้กับทุกท่านครับ

สืบเนื่องจากบทความในสัปดาห์ที่แล้ว เราพูดถึงหลักในการหมุนตัวสร้างเกลียวที่ถูกต้องในวงสวิงไป ในวันนี้เรามาดูกันว่าต้องหมุนลำตัวเยอะขนาดไหน ถึงจะสร้างพลังในวงสวิงได้ดีที่สุดกันครับ ก่อนอื่นเลยเราต้องทราบถึงปัจจัยที่ทำให้การสร้างเกลียวนั้นมีมากหรือน้อยแตกต่างกันออกไปดังนี้ :
1) อายุ
2) ทักษะทางด้านกีฬา
3) ความยืดหยุ่นของร่างกาย

ซึ่งปัจจัยทั้ง 3 ข้อด้านบนนี้ จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถฝึกฝนและพัฒนากันได้ครับ (ยกเว้นอายุนะครับ...555) โดยการหมุนตัวที่ดีนั้นจะนำมาซึ่งการสร้างเกลียวที่มีประสิทธิภาพ แล้ว "เกลียว" ที่มีประสิทธิภาพนั้นหน้าหรือรูปแบบมันเป็นอย่างไร??

"การสร้างเกลียวคือ การสร้างแรงต้าน ระหว่างลำตัวช่วงบน (upper body) และลำตัวช่วงล่าง (lower body) นั่นเอง"

ดังนั้นเมื่อท่านทราบถึง concept ด้านบนนี้แล้ว เรามาทำความเข้าใจกันใหม่อย่างช้าๆก่อนครับว่าแท้จริงแล้วนั้น เกลียวที่ทุกท่านต้องการนั้นเกิดจากอะไร ไม่ใช่เพียงแค่จะบิด...บิดด....บิดดดด ให้ได้เยอะที่สุด ถ้าหากท่านยังมีความยืดหยุ่นไม่เพียงพอ ท่านอาจจะประสบปัญหาใหญ่หลวงได้ครับ นอกจากจะตีไม่ได้ระยะไกลขึ้นแล้ว ท่านอาจจะต้องมาปวดหัวกับปัญหาในการตีอื่นๆอีกต่างหาก

แบบฝึกเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับตัวเราเองคือ สร้างแหล่งพลังงาน หรือเกลียว ให้ถูกต้องเสียก่อน โดยเริ่มจากการหมุนตัวโดยที่ช่วงล่างนั้นเคลื่อนตามมาเพียงเล็กน้อยก่อน ขณะทำการบิดหมุนนั้นไม่ควรให้สะโพกนิ่งเกินไป เพราะต้องการให้เกิดเกลียวนะครับ ไม่เช่นนั้นแล้วนอกจากจะไม่ได้เกลียวที่ดีแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการเกร็งเช่นกันครับ หรืออาจยึดหลักง่ายๆ โดยคิดเป็นอัตราส่วน 2:1 (ลำตัว:สะโพก)

ยกตัวอย่างเช่น

คนที่ 1 : ความยืดหยุ่นสูง

หมุนตัว 90 องศา
สะโพกหมุนควรหมุนไม่เกิน45 องศา
(ตามรูป A)



คนที่ 2 : ความยืดหยุ่นต่ำ

หมุนตัว60 องศา
สะโพกก็ควรไม่เกิน 30 องศา
(ตามรูป B)



*ไม่ใช่หมุนตัวได้ถึง 90 องศา แต่ช่วงล่างนี่ 75-80 องศา นะครับ* (ตามรูป C)



เมื่อเรารู้สึกหมุนแล้วตึงที่จุดไหน ให้ลองเพียงแค่นั้นก่อนเพราะทุกท่านต้องเข้าใจจริงๆว่าความยืดหยุ่นของคนเรานั้นไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่สามารถมีเหมือนกันได้คือ "การเคลื่อนไหวร่างกายให้อยู่ในพื้นฐานที่ถูกต้อง" ลองทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดยช่วงแรกๆอาจจะรู้สึกอัดอัด สิ่งนี้เป็นสัญญานที่ดีที่จะบอกว่าท่านกำลังมีแรงต้านของลำตัวช่วงบนและช่วงล่างอยู่ครับ

สำหรับใครที่อยากพัฒนาหรือเพิ่มความยืดหยุ่นนั้น ให้ดูแบบฝึกตามรูปด้านล่างนะครับ

- ฝึกการบิดเฉพาะส่วนโดยเริ่มจากการบิดลำตัว รักษาช่วงล่างนิ่ง *แบบฝึกนี้อาจดูขัดแย้งกับเนื้อหานะครับ แต่แบบฝึกมีไว้เพื่อเพิ่มเติมและสร้างความยืดหยุ่นให้มีมากขึ้น* (ตามรูป D/E)



  • ฝึกการบิดเฉพาะส่วน เน้นการบิดช่วงล่างโดยรักษาลำตัวให้นิ่ง (ตามรูปF/G)



  • สำหรับบทความในวันนี้ทาง Golfsquare หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยให้ท่านนักกอล์ฟที่ประสบปัญหาอยู่นั้นสามารถนำไปฝึกปฏิบัติ และช่วยปรับปรุงได้ดีขึ้น พบกันใหม่ในสัปดาห์ถัดๆไปครับ

    ขอบคุณครับ
    Cre. Golfsquare

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้